การแต่งกายตามกาลเทศะ
การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไปซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา และงานพิธีต่าง ๆ หรือการแต่งกายที่อยู่ในเครื่องแบบของนักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ บริษัทห้างร้านที่กำหนดให้พนักงานแต่งกาย เป็นต้น หากบุคคลใดสามารถปฏิบัติได้ตามกฎระเบียบที่กำหนดถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่งกายที่ดี
การแต่งกายของนักศึกษา
การแต่งกายไปงานแต่งงานเป็นการแสดงถึงการให้ความยินดีกับเจ้าภาพจึงเป็นการแต่งกายในชุดที่ดูสวยงาม
และการแต่งกายไปงานเราควรคำนึงถึงการให้เกียติเจ้าภาพด้วยเช่นเจ้าภาพอาจจะกำหนดการแต่งกายมาเราก็ควรปฏิบัติตามเพื่อเป็นการให้เกียติและเพื่อแสดงความยินดี
เช่น แต่งกายในชุดสีขาว สีชมพูหรือเสื้อผ้าสีอ่อนๆดูสวยงาม เป็นต้น
การแต่งกายไปงานอวมงคล
งานอวมงคล คือ
การทำบุญเลี้ยงพระที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่างคือทำบุญ หน้า เรียกว่าทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วัน
และทำบุญอัฐิในวันคล้ายวันตายของผู้ล่วงลับ
-
ถ้าเป็นงานศพควรเป็นสีขาวหรือสีดำ
-
ถ้าเป็นวันทำบุญอัฐ ควรแต่งกายเรียบร้อย สีเรียบ ๆ
ไม่มีลวดลายหรือฉูดฉาด จนเกินควร เหมาะสมกับงาน
ไม่ใส่เครื่องประดับหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี
มารยาทการแต่งกายที่พึงประสงค์
เป็นการแต่งกายที่จะต้องคำนึงถึงความสุภาพเรียบร้อย สะอาด ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
เมื่อมีผู้พบเห็นจะรู้สึกทันทีว่าผู้ที่แต่งกายดีถูกต้องตามกาลเทศะ คือ
คนที่ควรได้รับการชมเชย จากสังคมและผู้ปฏิสัมพันธ์ด้วย
ในมุมกลับกันหากแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย ก็จะเกิดคำตำหนิ ติเตียน จากผู้ที่พบเห็น
ทำให้เสื่อมเสียทั้งตนเอง สถานบันครอบครัว และสถานศึกษา